หน้าเว็บ

หน่วยที่ 2

วิชาชีพครู

สถาบันและองค์กรวิชาชีพครู
แนวคิด
๑. องค์กร
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู มีหลักๆ๓ องค์กร คือ
องค์กรผลิตครู – หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์ราชภัฏ ฯ
องค์กรใช้ครู – สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา เทศบาล โรงเรียนเอกชน หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
องค์กรวิชาชีพครู – องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ
ลักษณะขององค์กร :
๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ
๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ

ตัวอย่างองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ
๑. ครุสภาเก่า
๒. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
๓. สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย เป็นต้น
๔. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ – สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย

เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู
๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน
๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)

บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)
๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอันเหมาะสม
๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ
๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง

๒. สถาบัน
- สถาบันเป็นสิ่งที่สำคมจัดตั้ง เพื่อประโยชน์โดยรวมของสังคม เป็นความจำเป็นที่ต้องมีของสังคม
องค์ประกอบความเป็นสถาบัน
- จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสังคมยอมรับ
- มีกฎหมายรองรับ มีระเบียบวิธีการ
- มีลักษณะ มั่นคง เปลี่ยนแปลงยาก
- มีประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆ
*สถาบันวิชาชีพครู ส่งเสริมศักดิ์ศรี สร้างความเชื่อมั่น และ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม
* ผู้ประกอบวิชาชีพ ยึดมั่น ศรัทธา สร้างชื่อเสียงให้สังคมยอมรับ และ ปกป้องสถาบัน


คุณลักษณะที่ดีของครู

   คุณลักษณะของครูที่ดีนั้นมีผู้กล่าวไว้หลายท่าน ในหลายโอกาส พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปี พ.ศ. 2522 ซึ่งมี ข้อความที่แสดงถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีไว้ดังนี้
“ ครูที่แท้นั้นเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือต้องขยันและอุตสาหะพากเพียร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติและ ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความ สนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องมั่นใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษา ความจริงใจ ต้องเมตตา หวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญา ให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาด รอบรู้ในเหตุและผล ” (คุรุสภา, 2524 : 3)
พระพุทธทาสภิกขุ ( 2530 : 1-27 ) ได้บรรยายเรื่องธรรมะสำหรับครูระหว่าง วันที่ 4-9 กันยายน 2527 ณ สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีความบางตอนแสดงถึง คุณลักษณะของครูที่ดีไว้ดังนี้
ครูในฐานะที่ได้รับการยกย่องว่ าเป็นปูชนียบุคคล ควรกอร์ปด้วยคุณธรรมของครู คือเปิด ประตูทางวิญญาณของโลกที่ปิดด้วยอวิชชาให้ออกมาสู่แสงสว่าง และอิสรภาพทางจิตมีลักษณะ สูงส่งในแง่คุ ณธรรม มีหน้าที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นในทางที่ถูกทุกวิถีทาง มีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตา กรุณาและปัญญา ทำบุญคุณและมีประโยชน์แก่โลกอย่างมหาศาลโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน เพียงเลี้ยวชีวิตได้ ครูต้องสร้างเด็กให้มีสติปัญญา มีเหตุผล ช่วยให้เขาหลุดพ้นจากสัญชาติญาณ อย่างสัตว์ สามารถสร้างบ้านสร้างชาติและสังคมโลก เป็นพุทธมามกะที่สมบูรณ์ รู้จักรับผิดชอบชั่ว ดี เชื่อฟังบิ ดามารดา และให้เขารู้จักว่า ไท” (อิสระจากกิเลส) มัชฌิม” (ทางสายกลางอริยมรรค) โชคดี” (ทำดีทางกาย วาจา ใจ) เกียรติ” (รู้ว่าตนเองได้ทำดีถูกต้อง มี คุณค่า ควรแก่การ ภาคภูมิใจ)
พระราชนันทมุนี (2525 : 3-4) ได้นำหลักธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระกรุณาธิคุณของ พระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะของผู้อบรมสั่งสอนที่เป็นเลิศ ดังนี้
พระพุทธศาสนา ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ สอนและผู้เรียน นั้น อยู่ในฐานะเป็นกัลยา นิมิตร คือเป็น ผู้ช่วยเหลือ แนะนำผู้เรียนให้ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคแห่งการฝึกอบรม ซึ่งมี ลักษณะ 7ประการดังนี้ คือ ปิโย คือ กระทำตนให้เป็นที่น่ารัก เป็นที่น่าไว้วางใจ ครุ คือ น่า เคารพทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่น ภาวนิโย คือ น่ายกย่อง ทรงคุณความรู้ ภูมิปัญญาอย่างแท้จริง วัตตา คือ รู้จักระเบียบแบบแผน ทั้งกายและวาจา วัจนักนโม คือ อดทนต่อพฤติกรรมของศิษย์ คัมภีรันญกะถังกัตตา คือ มีความสามารถชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้ โนจัตถาเน นิโยชะเย คือ ไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย 
คณะกรรมการข้าราชการครู (2529 : 12) จัดประชุมสัมมนา เรื่อง การปฏิรูปการฝึกหัดครู ตามโครงการพัฒนาศึกษาอาเซี่ยน เมื่อวันที่ 24-27 ธันวาคม 2524 และได้สรุปลักษณะของครูที่พึง ประสงค์ ไว้ดังนี้

1. มีความเป็นครู คือ ทำตนเองเป็นตัวอย่างที่ดี มีเมตตาปราณี รักอาชีพครู ใฝ่รู้ โลก ทัศน์กว้าง รับผิดชอบต่อหน้าที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีวุฒิภาวะ ยุติธรรม มีชีวิตที่สงบ และ เรียบง่าย มีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น
2. มีความรู้ในด้านต่อไปนี้ คือ
    2.1 วิชาเฉพาะอย่างลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับการศึกษาที่จะสอน
    2.2 วิชาครู วิทยาการการจัดการ จิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การวิจัย การประเมินผล
    2.3 ความรู้ทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ ธรรมชาติ
3. มีความสามารถในวิธีสอน วิธีอบรมและการพัฒนาการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และ ผู้ประสานงานที่ดีโดยได้รับการฝึกปฏิบัติเหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ
ฝ่ายพัฒนาข้าราชการครู กองวิชาการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการข้าราชการครู (2529 : 1) ได้กำหนดคุณลักษณะของครูที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไว้ดังนี้ คือ สอนดี มีระเบียบ เพียบคุณธรรม นำสังคม” พร้อมกับการกำหนดคุณลักษณะดังกล่ าว เพื่อพัฒนาวินัย และจริยธรรมสำหรับข้าราชการครู 6 เรื่อง คือ
     1. การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : ตรงเวลา
     2. การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : การแสดงหาทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน
     3. การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : การคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
     4. การปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
     5. การประพฤติเป็นแบบอย่างที่ ดี
     6. การมุ่งมั่นในการทำประโยชน์แก่สังคม
คณะอนุกรรมการส่งเสริมวิชาชีพครู (คุรุสภา. 2532 : 1) ได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐาน วิชาชีพครูเมื่อเดือนสิงหาคม 2532 โดยกำหนดว่า ครูควรมีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการคือ
     1. รอบรู้ คือ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจสังคมโดยทั่วไป และรอบรู้เรื่องราว เกี่ยวกับอาชีพของตน
     2. สอนดี คือ สามารถทำการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีคุณธรรม จรรยาบรรณ คือ มีศรัทธาในอาชีพของตน ตั้งใจใช้ความรู้ความสามารถ ในอาชีพ เพื่อเยาวชนและสังคมมีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่ออาชีพ และมีความรักษา ปรารถนาดีต่อเยาวชน ตลอดจนอุทิศเวลาให้กับศิษย์
     4. มุ่งมั่นพัฒนา คือ ปรับปรุงตนเอง ใฝ่ศึกษาหาความรู้ คิดค้นหาความรู้ที่ทันสมัยอยู่ เสมอ
จากการศึกษา พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัว ทัศนะของ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนจรรยาบรรณครูและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปจะได้คุณลักษณะทาง จริยธรรมครู รวม 6 ด้านดังนี้
     1. ความซื่อสัตย์
     2. ความรับผิดชอบ
     3. ความเมตตากรุณา
     4. ความเสียสละ
     5. ความยุติธรรม
     6. การรักษาระเบียบวินัย
คุณลักษณะทางจริยธรรมทั้ง 6 ด้านนั้น โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2528 : 582 – 592) ได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้
   1. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น แสดงออกเป็น พฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
       1.1 ถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง
       1.2 ไม่เบียดบังแรงงานหรือนำผลงานขอผู้อื่นมาเป็นของตน
       1.3 ไม่เบียดบังทรัพย์สินส่วนรวม หรือส่วนราชการไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือ พวกพ้อง
       1.4 ไม่อวดอ้างความสามารถเกินความจริง
       1.5 ไม่นำ หรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อ มนุษยชาติ
       1.6 ใช้เวลาราชการเพื่อประโยชน์ทางราชการอย่างเต็มที่
       1.7 ไม่ชักชวนศิษย์กระทำในสิ่งที่เสื่อมเสีย
       1.8 เข้าสอน และเลิกสอนตามเวลาที่กำหนด
       1.9 ไม่ประจบ สอพลอผู้บังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ส่วนตน
       1.10 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดี ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้บังคับบัญชา
       1.11 เป็นบุคคลรักษาคำมั่นสัญญา
   2. ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน พากเพียร และละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น แสดงออกเป็นพฤติกรรมดังนี้
       2.1 เตรียมการสอนอย่างดี
       2.2 ดูแลซ่อมแซม ปรับปรุง อุปกรณ์ และสถานที่ของทางราชการอยู่เสมอ
       2.3 แสวงหาแนวทางวิธีการปรับปรุงในงานที่รับผิดชอบอยู่เสมอ
       2.4 ค้นคว้าหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
       2.5 ไม่เพิกเฉยในเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดผลเสียต่องานราชการ
       2.7 มีความละเอียด รอบคอบในการทำงาน
       2.8 อดทนต่อปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน โดยไม่ละทิ้งและท้อถอยโดยง่าย
       2.9 อดทนต่อพฤติกรรมที่ยั่วยุของศิษย์ ไม่แสดงความโกรธโดยง่าย
       2.10 ยอมรับผลการกระทำของตน
       2.11 รู้จักหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
       2.12 ให้ความร่วมมือในกิจการของสถาบันเป็นอย่างดี
       2.13 ผ่อนปรนต่อปัญหาต่าง ๆ และหาทางแก้ไขโดยวิธีทางปัญญาและสันติวิธี
       2.14 ใช้ทรัพย์สินราชการอย่างประหยัด
   3. ความเมตตา กรุณา เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้ผู ้อื่นเป็นสุข กรุณา หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
       3.1 สนใจ เอาใจใส่ศิษย์ที่มีปัญหาอย่างสม่ำเสมอ
       3.2 ชักนำให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม
       3.3 ให้โอกาสกับศิษย์ได้แก้ตัวต่อการกระทำที่ผิดพลาด
       3.4 ให้กำลังใจแก่ศิษย์โดยเฉพาะศิษย์ที่มีปัญหา
       3.5 ให้ความอนุเคราะห์กับศิษย์และบุคคลทั่วไปตามสมควรกับฐานะ
       3.6 ไม่ใช้ถ้อยคำหรือแสดงกริยาข่มขู่ศิษย์และผู้อื่น
       3.7 ไม่ใช้ถ้อยคำหรือแสดงกริยาดูหมิ่นเสียดเสียศิษย์ และผู้อื่น
       3.8 ไม่แสดงกริยาอาฆาตพยาบาทต่อศิษย์และผู้อื่น
       3.9 มีบุคลิกภาพยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
       3.10 ให้ความเป็นกันเองกับศิษย์และผู้อื่นอยู่เสมอ
   4. ความเสียสละ หมายถึง การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่คนที่ควรให้ ด้วยกำลัง กาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองด้วย แสดงออกเป็น พฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
       4.1 ร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษากับศิษย์ทั้งในและนอกเวลา ราชการอยู่เสมอ
       4.2 ให้คำปรึกษากับศิษย์ในปัญหาต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาราชการอยู่เสมอ
       4.3 แบ่งปันทรัพย์สินตามสมควร เพื่อให้กิจการของศิษย์หรือสถาบันประสบ ความสำเร็จ
       4.4 ช่วยเจรจาเป็นธุระในกิจการของศิษย์และสถาบันให้สำเร็จประโยชน์
       4.5 ให้อภัยผู้อื่น ไม่แสดงการอาฆาตพยาบาท
       4.6 ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
       4.7 มีเหตุผล ไม่งมงายในความเชื่อของตน
   5. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผล ไม่มีความลำเอียง แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
       5.1 ให้ความรู้และการบริการต่าง ๆ แก่ศิษย์โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือ ความสัมพันธ์ส่วนตัว
       5.2 ตรวจผลงานและให้คะแนนตามความเป็นจริงด้วยความเที่ยงธรรมและมีเหตุผล
       5.3 ใช้หลักวิชาที่ถูกต้องในการประเมินผลการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
   6. การรักษาวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
       6.1 แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพครู
       6.2 วาจาสุภาพ
       6.3 รักษาความลับของศิษย์ เพื่อร่วมงาน และสถานศึกษา
       6.4 ตรงต่อเวลา
       6.5 ดูแล จัดอุปกรณ์ทางการศึกษา และสถานที่ทำงาน สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
       6.6 ไม่สูบบุหรี่
       6.7 ไม่ดื่มสุรา
       6.8 ไม่เล่นการพนัน
       6.9 ไม่ประพฤติผิดทางเพศ
       6.10 ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของสถานศึกษาเป็นอย่างดี

1 ความคิดเห็น: