Cute Dog Running

เกริ่นนำ

.....สวัสดี ท่านผู้ชมที่เข้ามาชม Blogger ของกระผม ซึ่งเป็นสื่อประกอบการเรียนวิชา ความเป็นครู ในภาคเรียนที่ 1/2558 โดยผสมผสานระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับการเรียนบน www.bloggre.com มีความสะดวกสบาย ทำให้ข้อมูลความรู้ ทั้งที่เป็นบทความและรูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับ "ความเป็นครู" ช่วยให้ผหู้เรียนที่อิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกลมาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ กระผมหวังว่า bloggre นี้จะมีประโยชน์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

ยินดิต้อนรับ

ยินดีต้องรับสู้ blogger ของ นายจารุเดช แหวนเพ็ชร์

หน่วยที่ 7

การสร้างศักยภาพครู


ศักยภาพ
หมายถึง ความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ของบุคคลนั้นถ้าหากบุคคลนั้นได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างเต็มที่และถูกทางทั้งทางกายและทางจิต

แฮริสัน คล๊าค
สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกาย (physical ability) ที่จะประกอบกิจกรรมหนัก (intensive activity)ได้เป็นระยะเวลานาน (long period) โดยไม่มีการพักและได้ผลดี  (high quality) ยกตัวอย่างเช่น ชายสองคนเริ่มลงมือตัดต้นไม้ในลักษณะเดียวกัน เมื่อเวลาเท่าๆ กัน ปรากฏว่า ชายคนแรกตัดไปได้ 10 ท่อน ก็หมดแรงขอหยุด ในขณะเดียวกันชายคนที่สองยังสามารถตัดต่อไปได้อีกและหยุดเมื่อตัดได้ 20 ท่อน เมื่อเปรียบทั้งสองคนนี้จะทราบได้ทันทีว่า ชายคนที่สองมีสมรรถภาพทางกายดีกว่าคนแรก (วิชัย  วนดุรงค์วรรณ:2535)

โดนัล เค แมทธิวส์
สมรรถภาพทางกายหมายถึง ความสามามารถของแต่ละบุคคลที่จะประกอบกิจกรรมใดก็ตามที่ต้องอาศัย การทำงานของกล้ามเนื้อ (วิชัย  วนดุรงค์วรรณ:2535)

รอเรนซ์ และโรแนลด์
สมรรถภาพทางกายหมายถึง ส่วนหนึ่งของผลรวมของความสมบูรณ์ทางกาย คือ สมรรถภาพทางจิต อารมณ์ และสมรรถภาพทางสังคม สมรรถภาพทางกายมิได้เป็นเพียงความสามารถทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงการมีกายภาพที่สมบูรณ์ หรือรูปทรงที่สมส่วนเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกาย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ทางกาย (วิชัย  วนดุรงค์วรรณ:2535)

นิดสัน และเจเวทท์
สมรรถภาพทางกายหมายถึง ความสามารถทางกายของแต่ละคนที่จะประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยไม่เกิดความเหฯ็ดเหนื่อย หรือความอ่อนเพลีย ยังมีพลังและความแข็งแรงเหลือไว้พอที่จะประกอบกิจกรรมพิเศษ  หรือกิจกรรมที่ต้องทำในกรณีฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย(วิชัย  วนดุรงค์วรรณ:2535)

ฮอริส เอฟ เฟส
สมรรถภาพทางกายหมายถึง ผลรวมแห่งความสามารถของร่างกาย อันประกอบด้วยความแข็งแรง ความทนทาน ความเร็ว พลังและความว่องไว (วิชัย  วนดุรงค์วรรณ:2535) พิชิต ภูตจันทร์

สมรรถภาพทางกาย
หมายถึง สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่างๆ กระทำกิจกรรมใดๆอันเกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือได้หนักหน่วง เป็นเวลาติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ และสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ดังนั้น การเสริมสร้างศักยภาพครู” หมายถึง งานที่ทำ เพื่อเพิ่มพูนให้คนที่เป็นครูอยู่แล้วให้ให้ได้เป็นครูที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวครูอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ใน ขณะนั้นๆ และให้ครูได้นำคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ ในการทำงานของครูได้สูงกว่าปกติธรรมดา
สรุปได้ว่า การเสริมสร้างศักยภาพครู คือ งานหรือเรื่องที่ทำ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูได้เพิ่มพูนขึ้นและให้ครูได้มีความสามารถ แสดงออกซึ่งคุณสมบัติที่ได้เพิ่มพูนแล้วนั้นออกมาใช้ในการทำงาน ของครูให้ได้สูงกว่าปกติธรรมดา
1. การพัฒนาด้านมาตรฐานวิชาชีพ
2. การพัฒนาด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3. การพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพ
4. การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ
การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง

คุณภาพของครูไทย
ปัญหาการขาดความรับผิดชอบต่อนักเรียน
ครูอาชีพ หรือแค่คนที่ยึดอาชีพครู
 ครูไทยไม่มีความรับผิดชอบ
ปัญหาจากศีลธรรมและจริยธรรมครูไทย
ปัญหาจากการพิจารณาเงินวิทยฐานะ หรือเลื่อนขั้น
ปัญหาจากการรับครูอัตราจ้าง
ปัญหาการขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ
ความหมายของศักยภาพและเจตคติต่อวิชาชีพครู
ครูจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้ผลการพัฒนา จะเกิดขึ้นต่อตนเองโดยใช้รูปแบบทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เป็นตัวขับเคลื่อน จนเกิดเป็นการศึกษาตลอดชีวิตการพัฒนาศักยภาพครูอย่างต่อเนื่องยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพครู เน้นการสร้างเอกภาพการพัฒนาที่ยึดโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา ส่งเสริมเครือข่ายพัฒนาครู และจัดระบบการสนับสนุนการพัฒนา ครูทั้งระบบ รวมทั้งจัดตั้งสถาบันพัฒนาและส่งเสริมครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
การสอนที่ดีที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงนั้น ผู้สอนจะต้องมีประสิทธิภาพ ของความเป็นครูในทุกๆด้าน เช่น การวางแผน การเลือกเทคนิควิธีการสอน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการสอนต้องมีความเอาใจใส่ดูแลรับผิดชอบผู้เรียน มีเจตคติที่ดีต่องานสอนตลอดจนมีความกระตือรือร้นต่องานสอนที่รับผิดชอบ
ประสิทธิภาพการสอนของครู(ต่อ)
พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน 2542 ให้ความหมาย ของคำต่างๆไว้ดังนี้
สันติ บุญภิรมย์ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
- คำว่า การ” เป็นคำนาม หมายถึง งานสิ่งหรือเรื่องที่ทำ
- คำว่า เสริมสร้าง” เป็นคำกริยา หมายถึง เพิ่มพูนให้ดีขึ้น หรือมั่นคงยิ่งขึ้น
- คำว่า ศักยภาพ” เป็นคำนาม หมายถึง ภาวะแฝง อำนาจ หรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่างๆ อาจทำให้พัฒนาหรือให้ ปรากฏเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้
ศักยภาพ คือ สิ่งที่อยู่ในตัวอยู่แล้ว ซึ่งได้เป็นข้อกำหนด หรือเงื่อนไขหรือคุณสมบัติในการรับบุคคลเข้าทำงานต่างๆ
การเสริมสร้าง หมายถึง การเพิ่มเติมเรื่องที่มีอยู่ แล้วให้ได้คงอยู่ในระดับเดิมหรือให้มากยิ่งขึ้น

ดังนั้น การเสริมสร้างศักยภาพครู” หมายถึง งานที่ทำ เพื่อเพิ่มพูนให้คนที่เป็นครูอยู่แล้วให้ให้ได้เป็นครูที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวครูอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ใน ขณะนั้นๆ และให้ครูได้นำคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ ในการทำงานของครูได้สูงกว่าปกติธรรมดา
สรุปได้ว่า การเสริมสร้างศักยภาพครู คือ งานหรือเรื่องที่ทำ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูได้เพิ่มพูนขึ้นและให้ครูได้มีความสามารถ แสดงออกซึ่งคุณสมบัติที่ได้เพิ่มพูนแล้วนั้นออกมาใช้ในการทำงาน ของครูให้ได้สูงกว่าปกติธรรมดา
1. การพัฒนาด้านมาตรฐานวิชาชีพ
2. การพัฒนาด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3. การพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพ
4. การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ

ความหมายของเจตคติต่อวิชาชีพครู
เจตคติของบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้เนื่องมาจาก
1. ความอดทนและความรับผิดชอบ
2. ความไม่เป็นผู้ทำลายแห่งวิชาชีพ
3. รัก เมตตาและปรารถนาดีต่อผู้เรียน
4. ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
อ้างอิง

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาแล้วได้ใจความมากค่ะ ตกแต่งได้สวยงาม เนื้อหาครบถ้วนมากๆค่ะ

    ตอบลบ